จากพระไตรปิฎกมีบันทึกไว้ว่า “ผู้ใดระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (สารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา)” สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ “เมื่อถึงคราวละสังขารย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ฯ” จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
➢ วันที่ 3 ศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ปัตตานะ-ไวสาลี-กุสินารา-ทอดผ้าป่า
❦ เดินทางไปยังเมืองไวสาลี อดีตเมืองหลวงของคณะเจ้าลิจฉวี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สำคัญ พระพุทธองค์เคยเสด็จโปรดชาวเมืองให้รอดพ้นจากโรคอหิวาตกโรค ทัศนากุฎาคารศาลา วัดป่ามหาวัน ที่มีลักษณะเป็นสถูปทรงบาตรคว่ำซึ่งกษัตริย์ลิจฉวีทรงสร้างถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
➢ วันที่ 4 เสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 กุสินารา-ลุมพินี-ทอดผ้าป่า
❦ เดินทางสู่เมืองกุสินาราแคว้นมัลละ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสาลวโนทยานหรือป่าไม้สาละที่มีความสำคัญเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงของพระพุทธองค์ ปรินิพพานสถูป เป็นสถูปที่อยู่ด้านหลังวิหารปรินิพพาน ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชพระราชทานพระราชทรัพย์ 100,000 รูปี ให้สร้างขึ้นคร่อมกับพระแท่นปรินิพพาน มีลักษณะเป็นทรงบาตรคว่ำสูง 65 เมตร มียอดฉัตร 3 ชั้น พร้อมปรากฎเสาอโศกในบริเวรใกล้เคียง กราบนมัสการพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ณ วิหารปรินิพพาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะในสมัยคุปตะ (พุทธศักราช 823-1093) โดยช่างฝีมือชาวมธุรา มีความยาว 7 เมตร สูง 1 เมตร ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นจุณศิลา ในการแสวงบุญครั้งนี้ทุกท่านจะได้สั่งสมบุญร่วมกันในพิธีทอดผ้าป่า ห่มผ้าองค์พระ สวดมนต์บทธรรมจักร ปฏิบัติธรรมร่วมกัน รับฟังบรรยายพุทธประวัติและความสำคัญของแต่ละสถานที่จากพระวิทยากรตลอดการเดินทาง